เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต 2.อนุสยวรรค รวมพระสูตรที่มีในวรรค
3. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการกำจัดความอยาก1 และได้ความ
รักในการกำจัดความอยากต่อไป
4. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการหลีกเร้น และได้ความรักในการ
หลีกเร้นต่อไป
5. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการปรารภความเพียร และได้ความรัก
ในการปรารภความเพียรต่อไป
6. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน2 และได้
ความรักในสติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตนต่อไป
7. เป็นผู้มีฉันทะอย่างแรงกล้าในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ3และได้ความรัก
ในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิต่อไป
ภิกษุทั้งหลาย นิททสวัตถุ 7 ประการนี้แล
นิททสวัตถุสูตรที่ 10 จบ
อนุสยวรรคที่ 2 จบ

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

1. ปฐมอนุสยสูตร 2. ทุติยอนุสยสูตร
3. กุลสูตร 4. ปุคคลสูตร
5. อุทกูปมาสูตร 6. อนิจจานุปัสสีสูตร
7. ทุกขานุปัสสีสูตร 8. อนัตตานุปัสสีสูตร
9. นิพพานสูตร 10. นิททสวัตถุสูตร


เชิงอรรถ :
1 การกำจัดความอยาก หมายถึงการกำจัดหรือการข่มตัณหาได้ด้วยอำนาจของภังคานุปัสสนาญาณ
(ญาณอันตามเห็นความสลาย) (องฺ.ปญฺจก.อ. 3/20/165, องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/20/192) หรือด้วยอำนาจ
วิปัสสนาญาณมีวิราคานุปัสสนาเป็นต้น (ที.ปา.ฏีกา 331/326)
2 สติปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ในที่นี้หมายถึงสติและเนปักกปัญญากล่าวคือสติและสัมปชัญญะ (องฺ.สตฺตก.อ.
3/20/165, องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/20/193)
3 ในการแทงตลอดด้วยทิฏฐิ แปลจากบาลีว่า ทิฏฺฐิปฏิเวเธ หมายถึงมัคคทัสสนะ (การเห็นมรรค) กล่าว
คือ การเห็นแจ้งด้วยมัคคสัมมาทิฏฐิ (องฺ.สตฺตก.อ. 3/20/165, องฺ.สตฺตก.ฏีกา 3/20/193)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 23 หน้า :30 }